สัญญาเงินกู้ และ สัญญากู้ยืมเงิน เงินนอกระบบไม่โอนไม่ดาวน์นัดทำสัญญาตามกฎหมายใหม่ใน 2024/2567

สัญญาเงินกู้ดีอย่างไรบ้าง…

 

สภาพปัญหาที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ส่งผลให้เกิดข้อขัดแย้งมากมาย บางคนจะเลือกที่จะกู้เงินนอกระบบเพราะขั้นตอนการกู้เงินสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงง่ายกว่าการกู้เงินผ่านทางสถาบันทางการเงินของรัฐบาล โดยการกู้ยืมนอกระบบนี้หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “แก๊งค์หมวกกันน็อค” ผู้ให้กู้ยืมเงินจะคิดดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดขึ้นมา บางทีอาจจะมีการเก็บโฉนดที่ดินของลูกหนี้ไว้เพื่อเป็นหลักประกัน มีพฤติกรรมการทวงเงินในลักษณะพูดจาข่มขู่ อาจจะถึงการใช้ความรุนแรง หากลูกหนี้ไม่จ่ายเงินตามสัญญาที่กำหนด พวกแก๊งค์ทวงหนี้นอกระบบจะทำร้ายร่างกายและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ เพื่อให้เป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงทำให้มีสัญญาเงินกู้เกิดขึ้นมา เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นมา

สัญญาเงินกู้คืออะไร

สัญญากู้เงินเป็นสัญญาที่กระทำโดย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้กู้ ได้ตกลงกู้ยืมเงินจากอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้ โดยได้โอนกรรมสิทธิ์เงินให้ผู้กู้ ผู้กู้อาจจะตกลงชดใช้เงินที่มีมูลค่าเท่าเทียมกันหรืออาจจะคิดดอกเบี้ยกันตามแต่ที่ได้กำหนดในสัญญาเงินกู้ที่ได้ระบุไว้ ซึ่งปัญหาในการคิดดอกเบี้ยมักจะเกิดอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากผู้กู้ไม่รู้กฎหมาย ทำให้ผู้ให้กู้เอาเปรียบในการคิดดอกเบี้ยในอัตราที่เกินจากกฎหมายกำหนดได้ ทำให้เกิดการฟ้องร้องต่อศาลได้ อัตราการคิดดอกเบี้ยตามกฎหมายในสัญญาเงินกู้ ห้ามไม่ให้เกินร้อยละสิบห้าต่อปี และบางคนยังสามารถนำหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน รถ อสังหาริมทรัพย์ มาเพื่อเป็นการันตีได้อีกด้วย

สัญญากู้ยืมเงินจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้ให้กู้ได้มีการมอบเงินให้กับผู้กู้สำเร็จแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง โดยจะมีสัญญาเป็นหนังสือกู้เงินหรือลายลักษณ์อักษร หากผู้ให้กู้ไม่มีการมอบเงินให้กับผู้กู้ถือว่าหนังสือสัญญาเงินกู้เป็นโมฆะ  ผู้กู้สามารถปฎิเสธการรับผิดชอบได้

วิธีการทำสัญญาเงินกู้

การทำสัญญาเงินกู้นั้น ผู้กู้ควรจะอ่านสัญญาให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน เพราะหากเราพลาดพลั้งลงชื่อไปแล้ว ยากที่จะกลับมาแก้ไขได้แล้วในภายหลัง โดยหนังสือสัญญาเงินกู้ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1.ส่วนนำจะเป็นส่วนที่แสดงข้อกำหนดและรายละเอียดของชื่อสัญญา วันที่ทำสัญญา สถานที่ทำสัญญาและที่อยู่ของผู้กู้และผู้ให้กู้ 2.ส่วนของเนื้อหา โดยจะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย วันที่ชำระหนี้ วัตถุประสงค์ของการทำสัญญารวมไปถึงการผิดนัดชำระหนี้ 3.ส่วนท้ายของสัญญาเป็นส่วนที่แสดงถึงความเข้าใจและการรับรู้ของทั้งสองฝ่าย หากคู่สัญญาได้อ่านและทำความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว สามารถลงลายมือไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

บทสรุปการทำสัญญาเงินกู้

สุดท้ายแล้ว การทำสัญญาเงินกู้ควรอ่านและตรวจสอบให้รายละเอียดก่อนที่จะลงลายมือ หากมีข้อสงสัยควรสอบถามให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะกระทำการใดๆลงไป

อัพเดทวันที่ 1 มีนาคม 2024