สิ่งที่ต้องรู้ ทวงหนี้อย่างไรให้ถูกกฎหมาย ลูกหนี้ไม่คืนเงินทำอย่างไรได้บ้าง 2567
ทวงหนี้อย่างไรดีให้มิผิดกฎหมาย ลูกหนี้ไม่คืนเงิน จะมีวิธีการพูดทวงหนี้อย่างไรได้บ้าง
ทวงหนี้เกินกว่าเหตุ เป็นเหตุให้ลูกหนี้แจ้งความทวงหนี้ได้
หากผู้ที่ให้กู้ทวงหนี้เกินกว่าเหตุ เช่น มีการข่มขู่ ประจาน ทำร้ายร่างกาย หรือใช้ความรุนแรง หรือกระทั่งทำลายทรัพย์สินลูกหนี้สามารถร้องเรียนการทวงหนี้ได้ที่ไหนก็ได้ เพราะสามารถเอาผิดผู้ที่มาทวงเกินเหตุได้ ดังนั้น ติดตามทวงหนี้จะต้องมีเรื่องการใช้กฎหมายมาเล่น รวมทั้งจะไปทวงแบบสุมสี่สุมห้าใช้ความรุนแรงเลย นอกจากจะไม่ได้เงินคืนแล้วก็อาจจะโดนฟ้องกลับด้วยเช่นกัน สิ่งที่ต้องรู้ เจ้าหนี้จะต้องระวังเรื่องเวลาที่ใช้ทวงได้ และการกระทำที่อยู่ในขอบเขตด้วยเช่นกัน
ทวงหนี้ มีวิธีการพูดทวงหนี้อย่างไรบ้าง
การทวงหนี้ถือเป็นความสามารถในการใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อเจรจาต่อรอง หากเราดูจากบริษัททวงหนี้ ก็จะพบว่ามีลำดับขั้นตอนวิธีการพูดทวงหนี้ที่เริ่มจากการทวงก่อนกำหนดว่าใกล้ถึงเวลาในการชำระ ต่อมาคือวันกำหนดชำระ และแจ้งค่าปรับ ซึ่งทวงหนี้แต่ละครั้งจะมีค่าปรับที่ใช้เพราะต้องมีการติดตามทวงหนี้ ซึ่งส่วนมากจะใช้การแจ้งบุคคลเพื่อให้ช่วยในการติดตาม หากพบว่าลูกหนี้ไม่คืนเงินจะมีการดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย นั่นก็คือการฟ้องร้องและมีการยึดทรัพย์สิน
ดังนั้น คนที่เป็นเจ้าหนี้ ควรจะมีการทำสัญญาหรือมีหลักฐานในการให้กู้ยืมให้เรียบร้อย เพื่อความรอบคอบและสามารถร้องเรียน แจ้งความทวงหนี้ รวมทั้งการฟ้องร้องได้ในภายหลัง ซึ่งควรจะเริ่มจากการขอเจรจา ประนีประนอม หากทวงหนี้ไม่รับสาย หรือพบว่าลูกหนี้ไม่คืนเงินอีก ก็สามารถเริ่มการเจรจาเรื่องกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้รู้ว่าจะเอาจริง จะมีการแจ้งความและดำเนินคดี โดยการชี้แจงว่าจะเกิดความวุ่นวายและยุ่งยากภายหลังมาก หากส่งข้อความและโทรศัพท์หรือมีการทวงหนี้แล้ว แต่ไม่ตอบรับจะต้องดูว่าลูกหนี้รับรู้ว่าทวงหนี้แล้ว หากรับรู้แต่ไม่คืนก็สามารถดำเนินคดีได้เลยทันที แต่หากไม่มีการประนีประนอมหรือทำอันตรายผู้ที่ยืมเงินจะต้องระวังเรื่องการแจ้งความทวงหนี้
ทวงหนี้ ต้องติดตามทวงหนี้เป็นเวลาเท่านั้น
สิ่งที่ต้องรู้สำหรับเจ้าหนี้ในการจะไปทวงหนี้เลยก็คือ ต้องทวงเป็นเวลาด้วย! หลายคนฟังอย่างนี้แล้วก็คงตกใจว่าลูกหนี้ไม่คืนเงินมีเวลาไปทวงด้วย ซึ่งกฎหมายทวงหนี้ได้มีการกำหนดว่าจะสามารถทวงได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง และจะต้องอยู่ในเวลาที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น คือ วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง 8.00-20.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ 08.00-18.00 น. เท่านั้น
อัพเดทวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567