สัญญากู้ยืมเงินคืออะไร
การกู้ยืมเงิน เป็นการทำข้อตกลงกับทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ให้ยืม และฝ่ายยืม โดยมีการทำข้อตกลงในการคืนเงินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งการทำข้อตกลงนี้จะเรียกว่า “สัญญากู้ยืมเงิน” เปรียบเสมือนหลักฐานยืนยันกับทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดความยุติธรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากทั้งผู้ให้ยืม และผู้ยืม
สัญญากู้ยืมเงินมีกี่ประเภท
สัญญากู้ยืมเงินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัญญายืมใช้คงรูป และสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ซึ่งการกู้ยืมเงินจะจัดอยู่ในสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง เช่น ผู้ยืมได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน และในสัญญากู้เงินระบุว่าจะคืนหรือให้ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งกับผู้ให้ยืมเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด การกู้ยืมแบบนี้จะทำสัญญาเงินยืมไม่มีหลักประกัน หรือสัญญายืมเงินไม่มีดอกเบี้ยก็ได้แล้วแต่ผู้ให้ยืม โดยสัญญากู้ยืมเงินจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อผู้ยืมให้เงินตามที่ตกลงกันไว้กับผู้ให้ยืมแล้ว
ความสำคัญของสัญญากู้ยืมเงิน
สัญญากู้ยืมเงินคือหลักฐานสำคัญที่ใช้สำหรับประกอบการกู้ยืมเงิน ใบสัญญายืมเงินจะยืนยันว่าบุคคล หรือองค์กรได้ทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นสัญญายืมเงินไม่มีดอกเบี้ยหรือมีดอกเบี้ย สัญญาเงินยืมไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันในการการกู้ยืมเงิน เพื่อให้ผู้กู้สบายใจในเงื่อนไขและข้อตกลงที่ชัดแจนในสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งสัญญามีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อทั้งผู้ให้ยืม และผู้ยืมได้ลงนามไว้ในใบสัญญายืมเงิน และหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามข้อตกลงที่มีไว้ในสัญญากู้เงิน เช่น ไม่ยอมคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด อีกฝ่ายสามารถนำใบสัญญายืมเงินเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีตามกฎหมายได้
ข้อควรระวังก่อนเซ็นสัญญากู้ยืมเงิน
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลักฐานสำคัญในการกู้ยืมเงิน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะใช้สัญญามาอ้างในการทำข้อตกลงได้ จึงสำคัญมากที่ก่อนเซ็นสัญญากู้ยืมเงิน เราต้องอ่านรายละเอียดสัญญากู้เงินนั้นอย่างรอบคอบ แลมีข้อควรระวังก่อนจะเซ็นสัญญากู้ยืมเงินดังนี้
- อย่าเซ็นสัญญากู้ยืมเงินหรือปั้มลายนิ้วมือบนกระดาษเปล่า เนื่องจากไม่ได้มีข้อตกลงในใบสัญญายืมเงิน เราจึงไม่ทราบรายละเอียดสัญญากู้เงินนั้นเป็นอย่างไร
- ไว้ใจ และเซ็นสัญญากู้ยืมเงินโดยไม่อ่านรายละเอียดอย่างรอบคอบ
- ไม่เก็บรักษาสัญญากู้ยืมเงินไว้ให้ดี หากทำหาย อีกฝ่ายอาจจะเปลี่ยนรายละเอียดในใบสัญญายืมเงินโดยที่เราไม่รู้
- อย่าให้มีช่องว่างในการเติมจำนวนเงินที่กู้
- ทำสัญญากู้ยืมเงินออกมาเป็น 2 ชุด เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในใบสัญญายืมเงิน และสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับจะต้องเหมือนกัน
- ขอสัญญากู้ยืมเงินคืนหลังจากทำตามข้อตกลง หรือคืนเงินครบแล้ว
อัพเดทวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567